การบริหารจัดการ




1 ครู ศรช. ที่รับผิดชอบ กศน. ตำบล เป็นหัวหน้า กศน. ตำบล ทั้งนี้ ทั้งครู ศรช. ที่รับผิดชอบ ศรช. ทั่วไปและ หัวหน้า กศน. ตำบล ต้องปฏิบัติงานประจำอยู่ที่ ศรช. หรือ กศน. ตำบล อย่างน้อย สัปดาห์ละ 4 วัน โดยจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงานแสดงไว้ในอาคารที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
2. กศน. ตำบล หรือ ศรช. จัดให้มีคณะกรรมการ กศน. ตำบล หรือ ศรช. ซึ่งเป็นองค์คณะบุคคล ที่มีบทบาทในการส่งเสริม สนับสนุนและมีส่วนร่วม ในการบริหารกิจการด้านต่างๆ ของ กศน. ตำบล หรือ ศรช. ให้เป็นไปตามภารกิจที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดองค์ประกอบและบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ กศน. ตำบล และ ศรช. ไว้ ดังนี้

2.1 องค์ประกอบของคณะกรรมการ กศน. ตำบล และ ศรช.

คณะกรรมการ กศน. ตำบล และ ศรช. ประกอบด้วย องค์คณะบุคคล ดังนี้
1) ประธานกรรมการ (เลือกจากตัวแทนคณะกรรมการในข้อ 2)
2) กรรมการที่เป็นตัวแทนจากหมู่บ้านหรือชุมชน หมู่บ้านหรือชุมชนละ 2 คน ซึ่งอาจมาจากผู้แทนผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำศาสนา เป็นต้น
3) กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรนักศึกษา (กรรมการนักศึกษา 2คน)
4) กรรมการที่เป็นอาสาสมัคร กศน. (ตัวแทนจากตำบล 1 คน)
5) กรรมการและเลขานุการ (หัวหน้า กศน. ตำบล หรือ หัวหน้า ศรช.)



กรณีที่ กศน. ตำบลใด มี ศรช. มากว่า 1 แห่ง ให้แต่งตั้งคณะกรรมการได้ ตามความเหมาะสมประกอบด้วย

1) ประธาน (เลือกจากตัวแทนคณะกรรมการในข้อ 2)
2) กรรมการที่เป็นตัวแทนจากหมู่บ้านหรือชุมชน จำนวน 5 คน
3) กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรนักศึกษา (กรรมการนักศึกษา 2 คน)
4) กรรมการที่เป็นอาสาสมัคร กศน. (ตัวแทนอาสาสมัคร 1 คน)
5) กรรมการและเลขานุการ (ครู ศรช.)

2.2 บทบทหน้าที่

1) บทบาทหน้าที่คณะกรรมการ ศรช.
    1.1) วางแผนการดำเนินงานศูนย์การเรียนชุมชน
    1.2) จัดประชาสัมพันธ์งานศูนย์การเรียนชุมชน
    1.3) จัดหาวัสดุ อุปกรณ์และครุภัณฑ์พื้นฐานให้กับครูศูนย์การเรียนชุมชน
    1.4) บริหารและจัดกิจกรรมในศูนย์การเรียนชุมชน
    1.5) กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานศูนย์การเรียนชุมชน
    1.6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนดให้เป็นบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชน

2) บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ กศน. ตำบล

คณะกรรมการ กศน. ตำบล มีบทบาทหนาที่เช่นเดียวกันกับคณะกรรมการ ศรช. ตามข้อ 1.1) - 1.5) และยังมีบทบาทหน้าที่เพิ่มเติม ดังนี้
    2.1) ประสานงานและเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกับศูนย์การเรียนชุมชนต่างๆ ในตำบล
    2.2) ประสานกับส่วนราชการในตำบลและเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน
    2.3) ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เพื่อนำแผนชุมชนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมาปฏิบัติ
    2.4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ฯลฯ กำหนด ให้เป็นบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ กศน. ตำบล

ทั้งนี้ คณะกรรมการ ศรช. ผู้อำนวยการ กศน. อำเภอต้นสังกัดเป็นผู้แต่งตั้ง ส่วนคณะกรรมการ กศน. ตำบล ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้ง โดยอยู่ในตำแหน่งวาระละสี่ปี