การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ใช้ปัญหาหรือความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเป็นฐาน (Problem or Need-based) ในการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
2. การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนหรือผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ เกิดทักษะกระบวนการตัดสินใจตามหลัก “คิด วิเคราะห์เป็น” โดยถือเป็นจุดมุ่งหมายากรเรียนรู้ที่จำเป็นประการหนึ่งด้วย
3. การจัดระบบหรือกระบวนยการเรียนรู้ เน้นระบบหรือกระบวนการเรียนรู้ที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนหรือ ผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความใฝ่รู้ รักในการเรียนรู้ และแสวงหาความรู้จนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต
4. จัดสภาพแวดล้อม หรือบรรยากาศใน กศน. ตำบล หรือ ศรช. ในชั้นเรียนและชุมชน โดยใช้แผนชุมชนเป็นกลไกสำคัญ ในการประสานการมีส่วนร่วม ส่งงเสริม สนับสนุนการดำเนินงาน ทั้งในฐานะผู้รับผิดชอบหรือเจ้าภาพหลัก และผู้มีส่วนร่วมกับองค์กรหรือหน่วยงานอื่นในชุมชน
5. ใช้กระบวนยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ การวิจับเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม หรือการวิจัยเชิงงปฏิบัติในชั้นเรียน และการจัดความรู้เป็นกระบวนการสำคัญ ในการแก้ปัหา หรือพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
6. ใช้ทุนทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และภาคส่วนต่างๆ ทางสังคมในชุมชน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)